วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

IP Header ของ IPv4

IPv6 Packet Format

- สิ่งที่ควรจะรู้เกี่ยวกับ IPv6 เป็นอย่างแรกก็คือ packet format ของ IPv6 ครับ.. เพราะ packet format ก็คือ data structure ที่บอกว่า IPv6 สามารถทำอะไรได้บ้าง.. IPv6 packet ประกอบด้วย header, extended header, แล้วก็ payload ครับ .. Header ของ IPv6 ออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย header จะประกอบด้วย field จำเป็นต้องใช้ในการ process packet ที่ทุกๆ router เท่านั้น พวก options ต่างๆ ที่อาจจะ process เฉพาะที่ต้น/ปลายทาง หรือ ที่ router บางตัวจะแยกออกมาไว้ที่ extended header แทน .. รายละเอียดของ extended header เดี๋ยวว่ากันในหัวข้อ extended header ละกันนะครับ.. ตอนนี้เรามาดูที่ header ของ IPv6 กันก่อน..


- จากรูปของ packet format จะเห็นว่า header ของ IPv6 ดู simple มากเมื่อเทียบกับ header ของ IPv4 เหตุผลก็เป็นไปตามนี้:

> Version ยังคงต้องมีเหมือนเดิม เพื่อใช้บอกว่า packet นี้เป็น IP version ไหน.. กรณีของ IPv6 ค่าของ version ก็จะเป็น 6

> Header length ถูกตัดออกไป เพราะขนาดของมันจะเป็น 40 octets เสมอ การกำหนดให้เป็น fixed length header ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผล packet ดีขึ้น

> Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด schedule ในการส่ง packet ให้เหมาะสม

> Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application นึงสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว

> Total Length แทนที่ด้วย Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octet (byte) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดจะเป็น 65535 octets

> Identification, Flag, Segmentation, Protocol, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนของ extended header เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้อง process ในทุก router

> Hop Limit ถูกใช้แทน Time-To-Live ของ IPv4 ... ตาม IPv4 specification TTL จะเก็บเป็นเวลาจริงๆ หน่วยเป็นวินาที โดยระบุว่าแต่ละ router ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที แม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผล packet น้อยกว่านั้น.. ในความเป็นจริงการประมวลผล packet เร็วมากครับ เพียงแค่ไม่กี่ usec เท่านั้น.. router ใหม่ๆ อาจจะทำได้น้อยกว่า 1 usec เสียอีก..router จึงลด TTL ครั้งละ 1 เสมอ .. TTL ก็เลยกลายเป็น hop count แทนที่จะเป็นเวลาจริงๆ ซึ่งก็เหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล... ใน IPv6 จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆ ของมัน

> Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็น header ประเภทไหน

> Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้ ..


Extended Headers


- มาถึง extended header กันบ้าง .. จากเหตุผลข้างบนที่ย้ายหลายๆ field มาเป็น extended header ทำให้ IPv6 มี extended header หลายๆ แบบเลยครับ แต่ละแบบก็เอาไว้ใช้ทำงานเฉพาะอย่างเพียงงานเดียว ..ใน 1 packet เราสามารถใช้ extended header ได้มากกว่า 1 อัน ดังนั้น เราจึงขอ service จาก IPv6 ได้มากกว่า 1 อย่าง .. IPv6 specification ล่าสุดกำหนดให้มี extended header อยู่ 6 แบบ ทุกแบบจะขึ้นต้นด้วย field "Next Header" เสมอ เพื่อระบุว่า extended header อันถัดเป็นชนิดไหน..

> Hop-by-Hop Options: เป็น option ที่ระบุให้ทุก router ที่อยู่ในเส้นทางระหว่างต้น/ปลายทางจะต้องทำตาม ตอนนี้ใน IPv6 specification มี option อยู่เพียงสองอัน คือ Jumbogram options สำหรับให้ IPv6 packet มีขนาดใหญ่กว่า 65535 octets ได้ ขนาดของ jumbogram สูงสุดคือ 2^32 octets (4,294,967,295 octets) เชียวล่ะครับ..อีก option นึงเอาไว้ทำ padding


> Routing: ใช้สำหรับทำ source routing ครับ.. คือต้นทางสามารถระบุเส้นทางที่ packet ต้องผ่านได้ โดย list เป็น router ที่ต้องส่ง packet ผ่านไปจนถึงปลายทาง.. Source routing ของ IPv6 สามารถระบุแต่ละ router ใน list ได้เลยว่าเป็น strict source routing หรือ loose source routing (หมายความว่าเราระบุ ทั้ง strict และ loose source routing ผสมกันได้) ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า source routing ของ IPv4 ที่จะบังคับว่า router ใน list ต้องเป็น strict หรือไม่ก็เป็น loose source routing ทั้งหมด


> Fragment: ใช้สำหรับทำ fragmentation เหมือนของ IPv4 แต่ที่ต่างกันก็คือ IPv6 จะมี function สำหรับหา path MTU ไว้อยู่แล้วเพื่อจะได้รู้ว่าขนาด Maximum Transfer Unit ที่เหมาะสมของ path นั้นๆ มีค่าเป็นเท่าไหร่ ดังนั้นการทำ fragmentation จึงทำที่ source node เท่านั้น (IPv4 จะทำ fragmentation ทั้งที่ source node และ router)


> Destination Options: ใช้งานคล้ายๆ กับ Hop-by-Hop option ครับ แต่จะเป็น option สำหรับปลายทางเท่านั้น.. ตอนนี้มีเพียง option เดียว คือเอาไว้ทำ padding


> Authentication: อันนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้ว..ใช้สำหรับทำ authentication รายละเอียดจะอยู่ในเรื่อง IP Security (IPSEC) เอาไว้ว่างๆ จะเขียนมาให้อ่านครับ ถ้าเอามารวมกับ IPv6 เดี๋ยวจะยาวเกินไป


> Encapsulated Security Payload: ใช้สำหรับทำ encryption และ cryptography อื่นๆ รายละเอียดก็จะอยู่ใน IP Security เหมือนกัน..


- Extended header มีอย่างมากไม่เกินแบบละ 1 อัน ยกเว้น destination option header ซึ่งอาจจะมีได้ 2 อัน..อืมม..ทีนี้พอมี extended header หลายๆ แบบอย่างนี้ก็ต้องมีลำดับการเรียง extended header ให้ถูกต้องด้วย...ถ้าใส่กันเต็มๆ ก็จะเรียงลำดับตามนี้:


1. IPv6 header

2. Hop-by-Hop Options header

3. Destination Options header

4. Routing header

5. Fragment header

6. Authentication header

7. Encapsulating Security Payload header

8. Destination Options header

9. Upper-layer header (e.g., TCP, UDP)


- IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 header และใช้การแจ้งเป็น Streamline header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด


- IPv4 header กับ IPv6 header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง Ipv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า




รูปที่ 1 IP Header


- เฮดเดอร์ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง ฟิลด์ของเฮดเดอร์ IP จะมีความหมายดังนี้


Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)

Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)

Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้าแกรม แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว

Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte

Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม

Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง

Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล

Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP

Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์

Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล

Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน



การใช้งานระหว่าง IPv4 และ IPv6


- การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 สามารถทำได้ 3 แนวทางคือ การทำ Dual Stacks , การใช้ Tunneling และการทำ Header Translation


1. การใช้สแต็กคู่ ( Dual Stacks ) คือ การทำให้โฮสต์สามารถใช้งานได้กับ IP address ทั้ง 2 version โดยจะพิจารณาว่าจะส่งข้อมูลไปโดยใช้ IP address version ไหนจากการส่ง packet ไปสอบถาม DNS ก่อนแล้ว จึงส่งข้อมูลตาม version ที่ DNS ตอบกลับมา ถ้า DNS ส่ง packet กลับมาเป็น IPv6 แสดงว่าโฮสต์ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv6 ข้อมูลจะสามารถส่งถึงโฮสต์ปลายทางได้








2.การใช้อุโมงค์เครือข่าย ( Tunneling) คือ วิธีการที่โฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางใช้ IPv6 ทั้งคู่ แต่การสื่อสารระหว่าง 2 โฮสต์นี้ต้องกระทำผ่าน เครือข่าย IPv4 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ encapsulate IPv6 ให้เป็น IPv4 จึงจะสามารถส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย IPv4 ได้ หลังจากนั้นโฮสต์ปลายทางจึงจะทำการดีแคปซูเลต IPv4 ให้เป็น IPv6 ตามเดิม




3.การแปลงเฮดเดอร์ (Header Translation) คือ วิธีการนี้ใช้เมื่ออินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วแต่ยังมีบางเครือข่ายที่ยังเป็น IPv4 อยู่จึงจำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้ตัวแปลงเฮดเดอร์ ซึ่งแปลงเฮดเดอร์ IPv6 ให้เป็น IPv4










รูป : แสดงการใช้งาน Header Translation เมื่อเครือข่ายส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้ว








รูป : แสดงขั้นตอนการทำงานของ Header Translation



• เทคนิคการทำ Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ในเครือข่าย IPv6 หรือ โหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น IPv4


• หรือการทำ Translation คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6

• เป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual stacks และ Tunnel


• การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้หลายระดับ เช่น Network layer, Transport layer, หรือ Application layer

• ไม่ว่าจะทำการแปลงข้อมูลที่ระดับไหน องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นคือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP address หรือ Address translation ซึ่งการแปลงหมายเลขสามารถทำได้โดยการจัดเก็บคู่หมายเลข IPv4 และ IPv6 address ทุกคู่ในเครือข่าย เราเรียกวิธีนี้ว่า Stateful address translation หรือจะทำการแปลงแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Stateless address translator ก็ได้


จุดเด่นของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4


1. รูปแบบ Header ใหม่ IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 Header และใช้การแจ้ง เป็น Streamline Header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด IPv4 Header กับ IPv6 Header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง IPv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า


2. มีขนาด Address มากขึ้น IPv6 มีการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ผู้ติดต่อ และผู้รับการ ติดต่อเป็น 128 บิต ซึ่งมีจำนวนที่อยู่ถึง

3.4x1038 ทำให้มีการออกแบบเป็นหลายลำดับชั้น และ จองที่อยู่สำหรับ Internet Backbone เพื่อแยกจากเครือข่ายในองค์กรซึ่งเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ ใช้สำหรับตำแหน่งโฮสต์ และมีที่อยู่จำนวนมาที่ใช้ในอนาคต ทำให้อ้างจะไม่จำเป็นที่ต้องใช้ NATs ในเครือข่ายอนาคตก็ได้


3. มีการกำหนดที่อยู่เป็นลำดับชั้น และกำหนดโครงสร้างการหาเส้นทางได้IPv6 Global Addresses ใช้บน IPv6 สามารถที่สร้างและกำหนดลำดับชั้นได้อย่างมีประสิทธิสำหรับการหา เส้นทาง และสิ่งที่เกิดขึ้นหลายลำดับในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต บน IPv6 Internet, Backbone Routers ทำให้ขนาดข้อมูลใน Routing Table เล็กลง


4. ไม่จำเป็นที่ต้องแจ้งที่อยู่ก่อน หรือกำหนดที่อยู่ไว้ก่อนได้เป็นการกำหนดค่าโฮสต์ ซึ่ง IPv6 รองรับทั้งกำหนดค่าที่แจ้งไว้ก่อน เช่นการใช้ DHCP Server และการกำหนดค่าที่อยู่โดย ไม่แจ้งไว้ก่อนได้ (Stateless) ในกรณีที่ไม่มี DHCP Server อยู่ เครื่องโฮสต์บนลิงค์นี้จะ กำหนดค่าอัตโนมัติในตัวเองด้วย IPv6 addresses สำหรับลิงค์ (Link-Local Addresses) และ การกำหนดค่าที่อยู่โดยนำมาจากค่าประกาศด้านหน้าของ Routers แม้ว่าไม่มี Router โฮสต์ก็ สามารถที่ลิงค์ได้โดยกำหนดค่าที่อยู่ในลิงค์ท้องถิ่นเอง ด้วย Link-Local Addresses และการ สื่อสารโดยไม่ต้องกำหนดค่าที่อยู่ด้วยมือ


5. ฝังความปลอดภัยไว้ภายในรองรับ IPSec บนลำดับชั้นของ IPv6 ซึ่งรองรับเป็นทาง แก้ปัญหามาตรฐาน ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องมีความปลอดภัย6. รองรับบริการ Quality of Service (QoS) มีฟิลด์ใหม่ใน IPv6 Header ที่กำหนด สำหรับรองรับการระบุ ซึ่งระบุการจราจร โดยใช้ฟิลด์ Flow Label ใน IPv6 Header อนุญาตให้ Router ทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล การไหลที่เป็นชุดของแพ็ตเก็ตระหว่างต้นทาง ไปยัง ปลายทาง โดยรองรับ QoS ทำให้ง่ายต่อการติดต่อให้บรรลุเป้าหมายเมื่อมี Packet Payload ถูกเข้ารหัสด้วย IPSec7. มีการติดตั้งกับเครื่องข้างเคียง Neighbor Discovery Protocol สำหรับ IPv6 เป็นชุด Internet Control Message Protocol สำหรับ IPv6 (ICMPv6) ซึ่งจัดการโหนดเพื่อนบ้าน


* IPv6 ใช้ 128 bits ในการระบุหมายเลข IP ในขณะที่ IPv4 มีพื้นที่ให้ระบุเพียง 32 Bits ทำให้ IPv6 สามารถรองรับจำนวนหมายเลข IP ได้มากกว่า


* IPv6 มีการกำหนดขนาดของส่วน Header เอาไว้ตายตัว ทำให้ความเร็วในการประมวลผลและการส่องต่อมีประสิทธิภาพขึ้น


* IPv6 มีการออกแบบ Header มาเพื่อช่วยให้การค้นหาเส้นทางมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น


* IPv6 ตัดส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลออกไป เพราะหน้าที่สามารถให้ layer ข้างบนทำได้ เป็นการลดภาระงานของ Router ด้วย * IPv6 สามารถรองรับต่อขนาดของข้อความ (payload) ได้ถึง 4 GiB. ซึ่ง IPv4 รองรับได้แค่ 64 KiB


* ส่วน OS ที่รองรับ ก็มี Linux , Windows XP/ Vista, Mac OS X


แหล่งที่มา : 1. http://www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/tcp-ip.php

2. http://74.125.153.132/search?q=cache:aS_ouR6ZgfQJ:ccsmail.sut.ac.th/e-ru/teacher/file/file172.doc+ip+header+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+IPV4&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_th

3. http://eng.sut.ac.th/tce/Photos/couseonline/Gr14.pdf

4. http://kitty.in.th/index.php?room=article&id=83

5. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11256713b4c94964

6. http://kom.homelinux.org/node/288

7. http://www.specialist.co.th/se/web/news_detail.php?id=70

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Topology

Topology คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้





1. โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้








2. โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ




3. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง




4. โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมาก

ข้อดี
- ทำงานได้เร็ว
- ของรูปแบบ Mesh ได้แก่ แต่ละ Link รับผิดชอบเพียงอุปกรณ์ 2 ตัว จึงไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับการจัดสรรช่องการสื่อสาร ถ้ามี Link ใดเสียหาย ระบบยังคงสามารถทำงานได้ (Robust) ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลดี นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ตำแหน่งบกพร่องใน Network และแก้ไขได้ง่าย

ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายสูงสำหรับสายเคเบิ้ล
- ของรูปแบบ Mesh ได้แก่ จำนวน I/O Links ทั้งหมดมีค่ามาก nC2 = n (n – 1)/2

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7098f797c7c0afea
web.schq.mi.th/~suriyon/it/12.ppt





แบบทดสอบ Topology



1. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของ Bus Topology

ก. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก

ข. สามารถขยายระบบได้ง่าย

ค. เสียค่าใช้จ่ายมาก

ง. เสียค่าใช้จ่ายน้อย

ตอบ ค. เพราะ ข้อดีของ Bus Topology ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

2. ข้อใดเป็นข้อเสียของ Star Topology

ก. การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก

ข. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย

ค. สามารถขยายระบบได้ง่าย

ง. เสียค่าใช้จ่ายน้อย

ตอบ ก. เพราะ การขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

3. ทิศทางในการส่งผ่านข้อมูลแบบ Ring Topology เป็นแบบใด

ก. ส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข. ส่งข้อมูลแบบแยกย่อยออกไป

ค. ส่งข้อมูลทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง

ง. ส่งข้อมูลไปกลับ ได้ทุกเครื่อง

ตอบ ค. เพราะ การส่งผ่านข้อมูลแบบ Ring Topology จะไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

4. Topology แบบใด สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด

ก. BUS

ข. MESH

ค. RING

ง. STAR

ตอบ ข. เพราะ รูปแบบ Mesh ได้แก่ แต่ละ Link รับผิดชอบเพียงอุปกรณ์ 2 ตัว จึงไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับการจัดสรรช่องการสื่อสาร ถ้ามี Link ใดเสียหาย ระบบยังคงสามารถทำงานได้ (Robust) ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลดี นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ตำแหน่งบกพร่องใน Network และแก้ไขได้ง่าย

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

5. เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก แบ็คโบน (Backbone) คือรูปแบบใด

ก. MESH

ข. RING

ค. STAR

ง. BUS

ตอบ ง. เพราะ คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

แบบทดสอบระบบการสื่อสารข้อมูล

แบบทดสอบเรื่อง อุปกรณ,osi,toppology,สัญญาณ

1. องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วน

ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6

ตอบ ง.6 มีดังนี้คือ 1.ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 2.ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง 3.ช่องสัญญาณ (Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4.การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้5.การถอดรหัส (Decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน6.สัญญาณรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (Filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/index.htm

2. สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท

ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

ตอบ ข. คือสัญญาณอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอล
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm

3. การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การส่งแบบขนานและแบบอนุกรมการส่งแบบขนานจะมีลักษณะการส่งแบบใด

ก. ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป
ข. จะส่งข้อมูลแบบวงกลม
ค. ทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต
ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ ค. เพราะการส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต เช่น ส่ง 10011110 ทั้ง 8 บิต ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี 8 เส้น ส่วนการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป เช่นถ้าข้อมูลคือ 10011110 เลข 0ทางขวามือสุดเป็นบิตที่ 1 เรียงลำดับไปจนครบ 8 บิต โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm

4. Physical Layer เป็น layer ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร

ก. ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร
ข. ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและ
ปลายทาง
ค. เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ง. ควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล

ตอบ ก เพราะ Physical Layer เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232C มีกี่พิน (Pin) แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/3.htm

5. จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSIคือข้อใด

ก. กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
ข. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่าย ๆ
ค. ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
ง. กำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ

ตอบ ง. เพราะ เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/3.htm

6. อุปกรณ์การสื่อสารมีดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด

ก. sinc character
ข. หน่วยควบคุมการแยกสัญญาณ (Cluster Control Unit)
ค. มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)
ง. ฟร้อนท์เอ็นด์ (Front-end Processor)
จ. โมเด็ม (Modem)

ตอบ ก. เพราะอุปกรณ์การสื่อสารโมเด็ม (Modem)ฟร้อนท์เอ็นด์ (Front-end Processor)มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)หน่วยควบคุมการแยกสัญญาณ (Cluster Control Unit)
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/5.htm

7. มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) มีการทำงานอย่างไร

ก. รับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกัน
ข. ทำหน้าที่เชื่อมต่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
ค. ทำหน้าที่ มอดูเลตและดีมอดูเลต กล่าวคือแปลงสัญญาณกลับไปกลับมาระหว่างสัญญาณอานะลอกกับสัญญาณดิจิตอล
ง. ควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล

ตอบ ก คือ การทำงานของมัลติเพล็กเซอร์ มัลติเพล็กเซอร์จะรับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกัน ดังนั้นสัญญาณข้อมูลต่างๆเมื่อผ่านมัลติเพล็กซ์เซอร์ มัลติเพล็กซ์เซอร์ก็จะเรียงรวม(มัลติเพล็กซ์)กันอยู่ในสายส่งข้อมูลเพียงสายเดียว และเมื่อสัญญาณข้อมูลทั้งหมดมา ถึงเครื่องมัลติเพล็กซ์เซอร์ชึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ดีมัลติเพล็กซ์เซอร์อีกเครื่องหนึ่งทางปลายทาง สัญญาณทั้งหมดก็จะถูกแยก (ดีมัลติเพล็กซ์) ออกจากกันไปตามเครื่องรับปลายทางของแต่ละช่องทางสายส่งข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะต้องมีความจุสูง จึงจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งผ่านมาพร้อมๆกันได้ สายส่งข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ สายโคเอก สายไฟเบอร์ออปติก คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นดาวเทียม
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/5.htm

8. ประเภทของช่องทางการสื่อสารข้อมูลแบ่งได้เป็นกี่ประเภท

ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

ตอบ 3 คือแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) เป็นการติดต่อทางเดียว เมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูล อุปกรณ์อีกชุดจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ ตัวอย่างการใช้งานเช่น ในระบบสนามบิน คอมพิวเตอร์แม่จะทำหน้าที่ติดตามเวลาขึ้นและลงของเครื่องบิน และส่งผลไปให้มอนิเตอร์ที่วางอยู่หลาย ๆ จุดให้ผู้โดยสารได้ทราบข่าวสาร คอมพิวเตอร์แม่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล มอนิเตอร์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูล ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางของข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลแบบทางเดียวแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex) เป็นการติดต่อกึ่งสองทาง เป็นการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้ แต่คนละเวลากล่าวคือ ข้อมูลจะไหลไปในทิศทางเดียว ณ เวลาใด ๆ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่าง เทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ ผู้ใช้ที่เทอร์มินัลเคาะแป้นเพื่อสอบถามข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ ต้องใช้เวลาชั่วขณะคอมพิวเตอร์แม่จึงจะส่งข่าวสารกลับมาที่เทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์แม่ เมื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเป็นผู้ส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่เหลือก็จะเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาขณะนั้นแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ (Full Duplex) เป็นการติดต่อสองทาง เป็นติดต่อกันได้สองทาง กล่าวคือเป็นผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่างเทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ บางชนิดที่ไม่ต้องใช้เวลารอสามารถโต้ตอบได้ทันที หรือการพูดคุยทางโทรศัพท์ เป็นต้น
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/4.htm

9. ข้อใดคือtopologyแบบring

ก. เชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
ข. เชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
ค. เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย
ง. เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

ตอบข.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

10. ระบบเครือข่ายใดที่มีการเชื่อมต่อในระดับจังหวัด

ก. lan
ข. man
ค. wan
ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ ค. เพราะ ระบบ LAN มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุตระบบเครือข่ายmanในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)แหล่งที่มา http://regelearning.payap.ac.th/docu/mk380/f2.4.6.htm

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น



1.ระบบเครือข่ายคือ

ระบบเครือข่ายระบบหนึ่งอาจประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปใช้เพื่อแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เครื่องพิมพ์CD-ROM เป็นต้น เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ ใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่ออาจใช้สายเคเบิ้ล ระบบโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ระบบดาวเทียม หรือ ลำแสงอินฟาเรด ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้

-Local Area Network (LAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่นภายในห้อง สำนักงาน หรือ ในอาคาร

-Metropolitan Area Network (MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เช่นการเชื่อม ต่อระบบระหว่างองค์กรในอำเภอหรือจังหวัด ข้อมูลสามารถถูกส่งผ่านระหว่างเครือข่ายได้ โดยการเชื่อมต่อผ่าน ระบบโทรศัพท์ สายโคแอกเชียลหรือระบบสื่อสารแบบไร้สาย

-Wide Area Networks (WANs) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบ MAN เช่นการเชื่อม ต่อระบบเครือข่ายในระดับจังหวัดกับจังหวัด หรือระหว่างประเทศ มักเป็นการเชื่อมต่อที่ใช้สายสัญญาณที่มีความเร็วสูงเพราะ ข้อมูลที่มักจะส่งเป็นข้อมูลจากเครือข่ายย่อยหลายๆส่วนถูกส่งผ่านไปยังเครือข่ายอื่นหรืออาจเป็นศูนย์แม่ข่าย



2.ลักษณะการต่อสาย ( LAN Topology )

ลักษณะการต่อสาย LAN หรือที่เรียกกันว่า topology โดยทั่วไปมี 3 แบบใหญ่ คือ

-แบบ STAR หรือเรียกว่าแบบดาว คือการต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อต่อที่เรียกว่า HUB การติดต่อระหว่างเครื่องจะใช้ HUB เป็นตัวกลาง

-แบบ BUS เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสายสัญาณหลักที่อยู่ตรงกลาง หรือ BUS การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องทำได้โดยตรงโดยผ่าน BUS

-แบบ RING เป็นการเชื่อมต่อแบบร้อยต่อกันเป็นวงผ่านทุกเครื่องในระบบจนครบ การส่งผ่านข้อมูลต่อกันเป็นวงกลมจากต้นทางไปจนถึงปลายทางลักษณะการแบ่งการใช้สายสัญญาณ ( Media Access Control )การเชื่อมต่อกันของเครื่องในระบบ นั้นเป็นการใช้สายสัญญาณที่ต่อเชื่อมถึงกันจึงจำเป็นต้องมีการแบ่งเวลาในการใช้ สายสัญญาณ ( Cable ) เพื่อส่งข้อมูล เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล โดทั่วไปมี 2 แบบดังนี้คือ



-CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection) ลักษณะการทำงานคือ เครื่องที่จะส่งข้อมูลจะคอย ฟัง (carrier Detection) ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็จะส่งข้อมูลออกไปถึงยังผู้รับ ถ้ามีการชนกันก็จะมีการส่งซ้ำอีกครั้งจนกว่าจะสำเร็จ มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนแต่มีข้อเสียในกรณีที่มีเครื่องในเครือข่ายมากขึ้นจะทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้าลงและโอกาสการชนกันของข้อมูลมีมากขึ้น



-Token-passing การทำงานอาศัยการส่งผ่านรหัส Token ตามลำดับเมื่อเครื่องใดได้รับ Token มาถ้าต้องการส่งข้อมูลก็สามารถส่งต่อไปได้สิ้นสุดการส่งด้วย token ปิดท้าย หากไม่ต้องการส่งข้อมูลก็ให้ส่งผ่าน Token วิธีการนี้ทำให้การส่งผ่านข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสูง



3.มาตราฐานของ LAN



Ethernet (IEEE 802.3) ใช้บน topology แบบ BUS และแบบ Star ใช้หลักการการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CD ที่ความเร็ว 10 Mbps หรือ 100 Mbps Fast Ethernet ( IEEE 802.3u ) ฮาร์ดแวร์ที่ใช้จะต้องรองรับแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสองแบบ สำหรับ การเดินสายสัญญาณมีดังนี้

10Base2 - Ethernet specification for thin coaxial cable, transmits signals at 10 Mbps (megabits per second) with a distance limit of 185 meters per segment.

10Base5 - Ethernet specification for thick coaxial cable, transmits signals at 10 Mbps (megabits per second) with a distance limit of 500 meters per segment.



10BaseF - Ethernet specification for fiber optic cable, transmits signals at 10 Mbps (megabits per second) with a distance limit of 2000 meters per segment.

10BaseT - Ethernet specification for unshielded twisted pair cable (category 3, 4, or 5), transmits signals at 10 Mbps (megabits per second) with a distance limit of 100 meters per segment.

100BaseT - Ethernet specification for unshielded twisted pair cabling that is used to transmit data at 100



Mbps (megabits per second) with a distance limit of 100 meters per segment. 100BaseTX -Ethernet specification for unshielded twisted pair cabling that is used to transmit data at 1 Gbps (gigabits per second) with a distance limitation of 220 meters per segment. AUI Connector (Attachment Unit Interface) - A 15 pin connector found on Ethernet cards that can be used for attaching coaxial, fiber optic, or twisted pair cable.



-แบบ Arcnet ใช้การต่อสายแบบ star โดยใช้สายโคแอกเชียล เชื่อมต่อกับ HUB แบบArcnet อุปกรณ์ต่างๆราคาถูกกว่าแบบ Ethernet ใช้การทำงานแบบ token-passing แต่มีความเร็วที่ต่ำเพียง 2.5 Mbps จึงไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว

-แบบ Token-Ring (IEEE 802.5) พัฒนาขึ้นโดย IBM การเชื่อมต่อ(Topology) เป็นแบบ Ring ใช้การเชื่อมสายร้อยเป็นวงหรืออาจใช้การเชื่อมต่อโดยใช้ HUB ซึ่งเป็นแบบเฉพาะใช้ร่วมกับแบบอื่นไม่ได้ หรือเรียกว่า Media Access Unit (MAU) มีความเร็วในการส่งรับข้อมูล 4 Mbps และ 16 Mbps



ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กร และสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mail ภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (Video Conference) สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ทเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ระบบเน็ทเวิร์กสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ



1. LAN ( Local Area Network )คือเครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็กๆ หรือระยะทำการไม่ไกลนัก เช่นเครือข่ายภายในออฟฟิศหรือสำนักงาน มีระยะทำการใกล้ๆ และมักเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูง เครือข่ายนี่ยังถูกนำมาใช้เป็นเครือชข่ายในบ้านอีกด้วย

2. MAN ( Metropolitan Area Network )ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้องใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อสื่อสาร กันในเมืองหรือในระดับ LAN to LAN

3. WAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ท" นั้นเอง จะต้องใช้มีเดีย( Media ) ในการสื่อสารขององร์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN* )(* Integrated Service Digital Network สามารถส่งข้อมูลให้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพ ในเวลาเดียวกัน)



4.โครงสร้างของระบบเครือข่าย ภาษาเทคนิคเรียกว่า(Topology) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างเครืองคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกตามหลักวิชาการตั้งแต่สมัยก่อนนั้น แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)

โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology)

โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology)

โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Topology)



1. โครงสร้างแบบบัส (Bus Network) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป ทำให้โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนก็คือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครื่องรวนไปทั้งระบบ ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้ก็คือไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่างเช่น ฮับ/สวิทช์ ใช้สายเพียงเส้นเดียวก็เพียงพอแล้ว โครงสร้างแบบนี้จึงเหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก และในปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมเลย ความเร็วก็เพียง 10 Mbps

2. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network) ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์นี้ ดูไปแล้วจะคล้ายๆ ดาวกระจาย คือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบี้มีประโยชน์คือ ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้ถ้าหากเราเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอีกในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางคือ ฮับ/สวิทช์ ราคาได้ถูกลงอย่างมากแล้วในขณะที่ประสิทธิภาพก็ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันเป็นความเร็วขนาดกิกาบิตแล้ว

3. โครงสร้างแบบริง (Ring Network) ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะวงแหวน การส่งข้อมูลจะเป็นแบบทิศทางเดียว ซึ่งถ้าส่งไปแล้วไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์เครื่องรับตามที่เครื่องต้นทางระบุมา ก็จะส่งไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงปลายทางคือตรงกับเครื่องใครก็จะรับ ไม่ส่งต่อ จุดอ่อนของระบบก็คล้ายๆแบบบัส ปัจจุบันผมยังเห็นใช้อยู่ในธนาคาร พวก Mainfram IBM AS/400 เป็นต้น

4. โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network) ลักษณะสุดท้ายของของโครงสร้างแบบนี้ก็คือการนำเครือข่ายๆ ย่อยๆ ที่มีโครงข่ายตามแบบที่ผมกล่าวข้างต้นทั้ง สามแบบมารวมกัน หรือ เชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะแบบนี้ยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย เช่น โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree หรือ Hierachical หรือ Mesh) ก็คือเครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัสและแบบสตาร์มาผสมกัน หรือโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ (Mesh) ซึ้งก็คือโครงสร้างแบบสตาร์ผสมกับบัสที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน

5. โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network) ที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับโครงข่ายข้างต้นนั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สายแต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใหม่เกิดขึ้นมา ที่เรียกว่าเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless) จะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล จึงทำให้แตกต่างกันออกไป และโครงสร้างแบบนี้ได้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะจะคล้ายๆเป็นรูปรังผึ้ง



แหล่งที่มา



เข้าถึงได้จากDynamic Host Configuration Protocol - วิกิพีเดียDynamic Host Configuration Protocol (DHCP) หรือ (DHCPv6) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ใน เ ครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย



แบบทดสอบ


1.ระบบเครือข่ายระบบหนึ่งอาจประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่กี่เครื่องขึ้นไป
ก.1 เครื่อง

ข.2 เครือง

ค.3 เครื่อง

ง. 5 เครื่อง


2.ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้ยกเนข้อใด
ก. Local Area Network (LAN)

ข. Metropolitan Area Network (MAN)

ค. Wide Area Networks (WANs)

ง. Token-passing (NAN)


3.Local Area Network (LAN) เป็นการเชื่อมแบบใดต่อไปนี้

ก.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก

ข.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN

ค.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบ MAN



4.ลักษณะการต่อสาย LAN หรือที่เรียกกันว่า topology โดยทั่วไปมี กี่แบบ
ก. 2แบบ

ข.3แบบ

ค.4แบบ

ง.5แบบ


5.การต่อสาย lanแบบ STAR หรือเรียกว่าแบบดาว มีละกษณะการต่อแบบใดต่อไปนี้
ก.การต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อต่อที่เรียกว่า HUB

ข.เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสายสัญาณหลักที่อยู่ตรงกลาง

ค.เป็นการเชื่อมต่อแบบร้อยต่อกันเป็นวงผ่านทุกเครื่องในระบบจนครบ


6. โครงสร้างของระบบเครือข่ายทั้งหมดมีกี่แบบ
ก. 2แบบ

ข. 3แบบ

ค. 4แบบ

ง. 5แบบ


7.โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)มีลักษณะอย่างไร
ก.การเชื่อมต่อจะเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป

ข.เป็น การเชื่อมต่อคล้ายๆดาวกระจายคือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง

ค.เป็นการเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

ง.เป็นการเชื่อมต่อที่ใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล


8. โครงสร้างแบบริง (Ring Network) ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะใด
ก.แบบวงกลม

ข.แบบทวนเข็มนาฬิกา

ค.แบบตรง

ง.แบบวงแหวน


9.MAN ( Metropolitan Area Network )เป็นเครือข่ายระดับใด
ก.ระดับจังหวัด

ข.ระดับองค์กร

ค.ระดับเมือง

ง.ระดับประเทศ


10.WAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายระดับใด
ก.ระดับองค์กร

ข.ระดับจังหวัด

ค.ระดับเมือง

ง.ระดับจังหวัดและระดับประเทศ


เฉลย


1.ข 2.ง 3.ค 4.ข 5.ก 6.ค 7.ก 8.ง 9.ค 10. ง

IP Address

IP Address



1.IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น

มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 ซึ่งงกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address

2. Host Address

บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network cardClass ของแต่่ะ IP Address



2.ต้องแบ่งเป็น Classต่าง ๆ เพื่ออะไร

เพื่อความเป็นระเบียบไงครับ ทางองค์กรกลางที่ดูแลเรื่องของ IP Address จึงได้มีการจัด Class หรือ หมวดหมู่ของ IP Addressไว้ทั้งหมด 5 Class โดย Class ของ Address จะเป็นตัวกำหนดว่า Bit ใดบ้างใน หมายเลข IP Addressที่ต้องถูกใช้เพื่อเป็น Network Address และ Bit ใดบ้าง ที่ต้องถูกใช้เป็น Host Address นอกจากนั้น Class ยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า จำนวนของ Network Segment ที่มีได้ใน Class นั้น ๆ มีเท่าไร และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมีได้ ภายในNetwork Segment นั้น ๆ มีเท่าไร



Class D

Class นี้จะไม่ถูกนำมาใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicastของบาง Application Multicast คือ เป็นการส่งจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยัง กลุ่ม ของเครื่องปลายทางอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ทุกเครืองใน Network Segment นั่น ๆ



Class E

Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ วิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class อะไร• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 1-126 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class A (IP address 127 นั่น จะเป็น Loopback Address ของ Class นี้น่ะครับหรือ ของคอมท่านเอง )• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast Address ที่กล่าวไว้ข้างต้นส่วน IPv6. สามารถตามมาดูข้อมูลได้ที่นี้น่ะครับ Download : IPv6 Pdf file ได้ตรงนี้ครับ (Version ภาษาไทยด้วย



3.รูปแบบของ IP address

รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP address แต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง161.200.48.9

แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution

Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้ IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิกยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง 161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอ IP address จาก ChulaNet

การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสะดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา



Domain Name System

Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลขยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่างโครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด



com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน

gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล

edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา

org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร

net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือ provider ต่าง ๆถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น

th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 5 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย

co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 7 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ



แหล่งที่มา



http://www.ipv6.nectec.or.th/articles.php
http://www.ipv6forum.com/
http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=94&Itemid=46
http://www.it-guides.com/nets/net_104.html



แบบฝึกหัด


1.IP Address คืออะไร
ก.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์
ข.หมายเลขของระบบ LAN
ค.หมายเลขของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง.หมายเลข server


2.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขกี่ชุด
ก. 2ชุด
ข. 3ชุด
ค. 4ชุด
ง. 5ชุด


3.IPv4 มีกี่บิต
ก. 16 บิต
ข. 32 บิต
ค. 64 บิต
ง.128 บิต


4.หมายเลข IP Address ของ class c เริ่มจากหมายเลขใด
ก. 191-223ข. 191-333
ค. 192-223
ง. 192-240


5.หมายเลข IP Address ของ class B เริ่มจากหมายเลขใด
ก.126-192
ข.126-193
ค.127-191
ง.128-191


6.หมายเลข subnet mask ของ class A คือเท่าไร
ก.255.225.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255.0.0.0
ง.255.255.255.0


7.หมายเลข subnet mask ของ class B คือเท่าไร
ก. 255.225.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.225.0
ง. 255.255.255.0


8.หมายเลข subnet mask ของ class c คือเท่าไร
ก.255.0.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255.255.255.0
ง.255.255.255.255


9.หมายเลข netและ host ของ class A คืออะไร
ก.H.N.N.N
ข.N.N.N.H
ค.N.H.H.H
ง.N.N.H.H


10.หมายเลข netและ host ของ class c คืออะไร
ก.N.N.N.H
ข.N.N.H.H
ค.H.N.N.N
ง.N.H.H.H


เฉลย


1.ก 2.ค 3.ข 4.ค 5.ง 6.ค 7.ข 8.ค 9. ค 10.ก

Windows Server 2003

Windows Server 2003



วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System ภาพรวมวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:



Windows Small Business Server 2003

Windows Server 2003 Web Edition

Windows Server 2003 Standard Edition

Windows Server 2003 Enterprise Edition

Windows Server 2003 Datacenter Edition

Windows Compute Cluster Server 2003





Microsoft Windows Server 2003



Windows Server 2003 คือแพล็ตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ ให้มุมมองใหม่ของข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ใช้ เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกัน จัดการ และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้ดีขึ้น ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 ทำให้งานด้าน IT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่าย สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จนถึงศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่



ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 สามารถช่วยให้:

*ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น

*เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร



10 อันดับสุดยอดคุณลักษณะเด่นของ Windows Server 2003 สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ได้รับจากการอัพเกรดระบบคอมพิวเตอร์จาก Windows NT Server 4.0



นอกเหนือไปจากคำสัญญาของเราในอันที่จะจัดหา Windows Server ที่มีความเร็วที่สุด เชื่อถือได้มากที่สุด และมีความปลอดภัยที่สุดแล้ว Windows Server 2003 ยังรวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาบริการเว็บที่ชื่อว่า XML และโซลูชั่นเชิงธุรกิจ ซึ่งมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และต่อไปนี้คือลักษณะการทำงานใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อให้องค์กรใช้เป็นปัจจัยในการพิจารณาอัพเกรดจากระบบ Microsoft Windows NT Server 4.0



1.Active Directory: เพื่อการบริหารข้อมูลผู้ใช้บนเครือข่ายที่มีความซับซ้อนที่ดีขึ้น



บริการ Microsoft Active Directory จะช่วยให้การจัดการสารบบเครือข่ายที่วุ่นวายซับซ้อนให้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหา ส่วนประกอบหรือข้อมูลใดๆ ที่แม้จะเก็บอยู่ในเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

ระบบนี้สามารถรองรับได้หลากหลายขนาดขององค์กร ซึ่งถูกสร้างโดยอาศัยมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และรวมทั้งยังรองรับระบบปฏิบัติการได้ทั้ง Windows Server 2003 Standard Edition, Windows Server 2003 Enterprise Edition และ Windows Server 2003 Datacenter Edition Windows Server 2003 ยังได้มีการปรับปรุง Active Directory ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากขึ้นและมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้าง Trusts ข้ามกันระหว่าง Forest, ความสามารถในการเปลี่ยนชื่อของ Domain, และความสามารถในการยับยั้งการใช้งาน attributes และ class ภายใน schema เพื่อให้สามารถเปลี่ยนคำนิยามของคุณสมบัติเหล่านั้นได้



2.Group Policy: Group Policy Management Console: สร้างนโยบายรวมศูนย์เพื่อบริหารการใช้ซอฟท์แวร์ของทั้งเครือข่ายที่ดีและปลอดภัยขึ้นผู้จัดการระบบสามารถใช้ Group Policy เพื่อกำหนดค่าต่างๆและกำหนดสิทธิ์ให้กับทั้งตัวผู้ใช้งานและเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อแตกต่างระหว่าง Group Policy และ local policy คือผู้จัดการระบบสามารถใช้ Group Policy เพื่อกำหนดนโยบายที่จะใช้ร่วมกันระหว่าง site ที่ตั้ง โดเมน หรือหน่วยที่รวบรวมขึ้นใน active directory ได้ การจัดการแบบใช้นโยบายเป็นหลักนี้ จะช่วยทำให้งานต่างๆ ดังต่อไปนี้ทำได้ง่ายขึ้น : การปรับปรุงระบบ การติดตั้งโปรแกรม ข้อมูลของผู้ใช้งาน และ desktop-system lockdown

Group Policy Management Console (GPMC) ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมในวินโดวส์ 2003 นั้นจะช่วยให้เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ในการจัดการ Group Policy กล่าวคือทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบ Group Policy ได้ง่ายขึ้น และจะมีประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ Active directory ได้ดียิ่งขึ้น และยังนำข้อดีของการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาช่วยพัฒนาองค์กรได้อีกด้วย



3.ประสิทธิภาพการทำงานของ Server (Server Performance): อย่างน้อย 2 เท่าจาก Windows NT Server 4.0

จากผลการทดสอบบน Windows Server 2003 ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากยิ่งกว่าเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ไฟล์ข้อมูล และ Web Server มีความเร็วในการทำงานเป็นสองเท่าของ Windows NT Server 4.0 และขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรของคุณ มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่อยงาน เนื่องจากการกำหนดค่าต่างๆ ของ Network และคอมพิวเตอร์หลากหลายแบบ ทางไมโครซอฟท์เชื่อมั่นว่าการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Windows Server 2003 จะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น



4.การกู้ข้อมูลคืน โดยใช้เครื่องมือ Volume Shadow Copy: เพื่อบริหารการลบและกู้คืนไฟล์ที่ดีขึ้น

คุณลักษณะเด่นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในบริการ Volume Shadow Copy Service ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถปรับแต่งโปรแกรมเพื่อให้ระบบสามารถ copy ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อองค์กรได้ในทันที โดยที่ไม่มีการขัดจังหวะจากการหยุดทำงานของระบบแต่อย่างใด ซึ่งสำเนาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เมื่อต้องการเรียกข้อมูลคืน และการจัดเก็บข้อมูลเข้าแฟ้มข้อมูลถาวร เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเรียกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลถาวรซึ่งอยู่บน Server นั้นมาใช้งานได้ตลอดเวลา วิธีการกู้ไฟล์คืนที่ดีขึ้นกว่าระบบเก่านี้จึงถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดีทีเดียว



5.Internet Information Service 6.0 และ Microsoft .NET

Framework: เพิ่มความเร็วของ Web Application โดยรวมและความหลากหลายในการพัฒนา Application

Internet Information Service (IIS) 6.0 เป็น Web Server ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถช่วยในการทำงานของ Web Application และบริการ XML Web service ได้ดี IIS 6.0 ได้รับการออกแบบโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Fault-tolerant process ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และ Web Application ได้อย่างมากทีเดียว

ปัจจุบันนี้ IIS สามารถแยกออกมาจาก Web Application ต่างๆ กลายเป็นโปรแกรมที่สามารถจัดการงานต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง หรือที่เราเรียกว่า Application Pool โดยมีการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยตรง คุณลักษณะเช่นนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณงานต่อหน่วยเวลาและความสามารถของระบบให้มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างใน Server ให้มากขึ้นด้วย ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจาก application pool นี้คือช่วยลดความต้องการในการใช้ฮาร์ดแวร์ขององค์กรให้น้อยลง นอกจากนั้น Application Pool นี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้โปรแกรม หรือ site อื่นๆ ถูก รบกวนจาก XML web service หรือโปรแกรมเว็บต่างๆ บน Server ได้อีกด้วยIIS ยังมีความสามารถในการค้นหา, กู้ข้อมูล, และป้องกันการล่มของ Web Application ซึ่งบนระบบ Microsoft ASP.NET บน Windows Server 2003 นั้น ได้มีการใช้งานบนโครงสร้าง IIS แบบใหม่นี้ ซึ่งคุณสมบัติเกี่ยวที่ล้ำสมัยเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับ Applications ที่มีอยู่เดิมซึ่งทำงานภายใต้ไม่ว่าจะเป็น IIS 4.0 และ IIS 5.0 ก็ตาม โดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขส่วนโครงสร้างใดๆ ก็ตามของ Applications

โปรแกรม .NET Framework ประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้าง แปลง และดำเนินงาน Web Application และ XML Web Services บน Platform นอกจากนั้นโปรแกรม .NET Framework นี้ยังประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมที่มีประโยชน์ มีความเป็นมาตรฐาน และรองรับการสร้างแอพพลิเคชั่นจากหลายภาษา เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เดิมที่มีอยู่แล้วเข้ากับโปรแกรมและบริการใหม่ๆ ให้ได้ผลดี เช่นเดียวกันกับที่ช่วยให้โปรแกรม Internet-scale สามารถส่งข้อมูล และดำเนินการทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น การปรับรูปแบบของโปรแกรมเก่าที่มีอยู่เดิมแล้วนั้นสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันกับการ integrate และการ migrate ระบบ XML Web services และโปรแกรม UNIX ไปยังเครื่องมืออื่นที่มีปริมาณงานน้อยกว่าได้เช่นกัน



6.Terminal Services: รันโปรแกรมโดยอาศัยทรัพยากรของเซอร์ฟเวอร์ผ่านหน้าจอของ Clientคุณลักษณะของ Terminal service นี้ ช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถส่งโปรแกรม ซึ่งมีหลักการทำงานบน Windows (Window-based application) หรือที่เรารู้จักว่าเป็น desktop ของ Windows ไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมอื่นๆ

ที่ไม่ได้อยู่บน Windows ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ใช้งานเริ่มใช้โปรแกรมบน Terminal server โปรแกรมนั้นจะมีการทำงานบน Server ในขณะที่การใช้งานของคีย์บอร์ด เม้าส์ และข้อมูลแสดงผลจะถูกส่งไปยังเนตเวิร์ค ผู้ใช้งานจะเห็นเฉพาะ Desktop ที่เป็นของผู้ใช้งานเองเท่านั้น และมีการทำงานแยกกันอย่างเด็ดขาดกับ client อื่นคุณลักษณะสำหรับผู้จัดการระบบซึ่งเรียกว่า Remote Desktop นี้มีการสร้างขึ้นบนการจัดการระบบทางไกลของ Windows 2000 Terminal Services นอกจาก virtual session สอง sessions ที่เป็นการจัดการระบบทางไกลบน Windows 2000 Terminal Services แล้ว ผู้จัดการระบบยังสามารถทำงานต่อเข้ากับส่วนควบคุมของ Server ได้แบบทางไกลด้วย Terminal Server สามารถปรับปรุงและเพิ่มความสามารถของการส่งข้อมูลซอฟท์แวร์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณลักษณะนี้ยังคงเป็นปัญหาในการใช้โปรแกรมเก่าอยู่ทุกวันนี้



7.Clustering (Eight-Node Support): สร้างกลุ่มเซอร์ฟเวอร์ เพื่อการให้บริการที่ไม่ขาดตอน

คุณลักษณะนี้ปรากฏอยู่บน Windows Server 2003, Enterprise Edition และ Windows Server 2003, Datacenter Edition เท่านั้น โดยเน้นความสำคัญไปที่โปรแกรมจัดการงานต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบรับ-ส่งข้อความ และบริการจัดเก็บข้อมูลและพิมพ์เอกสาร การทำงานแบบ Clustering นี้มีการทำงานของ Server หรือ nodes หลายตัว เพื่อช่วยรักษาการทำงานให้คงที่ไม่ขาดตอน โดยหาก Node ใด Node หนึ่งใน Cluster ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากความผิดพลาดของการซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ node อื่นๆ จะสามารถทำงานแทนได้ในทันที ซึ่งขั้นตอนนี้รู้จักกันดีว่าเป็น “Failover” ผู้ใช้งานซึ่งกำลังใช้งานอยู่จะสามารถทำงานต่อไปได้ โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของ node ที่ช่วยทำงานแทนแต่อย่างใดทั้ง Windows Server 2003 Enterprise Edition และ Windows Server 2003 Datacenter Edition นี้ช่วยให้การติดตั้ง server cluster สามารถทำได้สูงถึง 8 nodes เลยทีเดียว



8.การ integrate ของโปรแกรม PKI Support โดยใช้ Kerberos เวอร์ชั่น 5



องค์กรของคุณสามารถใช้งาน Public Key Infrastructure (PKI) ได้ โดยใช้บริการ Certificate และเครื่องมือช่วยจัดการ Certificate และด้วย PKI นี้เอง ผู้จัดการระบบจะสามารถติดตั้งเทคโนโลยีแบบ standard-based ได้ตัวอย่างเช่น การ logon สมาร์ทการ์ด, การยืนยันผู้ใช้งานผ่านทาง Secure Sockets Layer และ Transport Layer Security, Email Protect, Digital Signature และความปลอดภัยของเครือข่ายโดยใช้ Internet Protocol Security (IPSec)

นอกจากนั้นแล้ว ด้วยบริการ Certificate นี้ ผู้จัดการระบบสามารถติดตั้งระบบ และบริหารสิทธ์ใน Certification ทั้งการมอบและการเรียก X.509 V3 certificate กลับคืนได้ ซึ่งนั่นหมายถึงองค์กรของคุณไม่จำเป็นต้องใช้ระบบยืนยันที่ผู้ใช้งานอีกต่อไป แม้ว่าจะมีการ integrate ระบบยืนยันที่ผู้ใช้งานนั้น PKI ขององค์กรแล้วก็ตาม Kerberos เวอร์ชั่น 5 เป็นเนตเวิร์คโพรโทคอลแบบ industry-standard ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยการ logon เพียงครั้งเดียว แต่สามารถเข้าใช้งาน resource ได้หลาย resources รวมถึง environment อื่นๆ ที่สนับสนุนระบบนี้ ประโยชน์อื่นๆของ Kerberos เวอร์ชั่น 5 ยังรวมถึง mutual authentication ซึ่งทั้งผู้ใช้งานและ Server ต้องทำงานยืนยันหรือตรวจสอบซึ่งกันและกัน และ delegated authentication ซึ่งเป็นการยืนยันผู้ใช้งานโดยมีการตรวจสอบประวัติและข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างละเอียด



9.การจัดการ Command-Line: สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการ UNIX หรือ Linux

Windows Server 2003 ยังเสนอคุณลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ Command-Line Infrastructure ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถดำเนินงานในเชิงบริหารจัดการต่างๆ ได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ user interface เชิงกราฟแต่อย่างใด และที่พิเศษไปกว่านั้นคือคุณลักษณะแบบ Command-Line นี้สามารถช่วยในทำงานที่มีลักษณะงานแตกต่างกันได้ดี โดยใช้วิธีการเข้าไปยังส่วนเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Windows Management Instrumentation (WMI)

WMI Command-Line หรือ WMIC นี้ยังมีการ interface กับระบบ Simple Command-Line ซึ่งจะช่วยในการทำงานร่วมกันกับโปรแกรมสนับสนุนตัวอื่นๆ และคำสั่ง utility อื่นๆ อีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว WMIC ยังสามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นการใช้งานได้ง่ายๆ ด้วย script หรือโปรแกรม administration-oriented อื่นๆ เมื่อรวมกับ script ที่พร้อมใช้งานแล้ว ฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นของ Command-Line ใน Windows Server 2003 จะสามารถแข่งขันได้กับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าได้เป็นอย่างดี ผู้จัดการระบบที่เคยใช้งานระบบ Command-Line เพื่อจัดการระบบ UNIX หรือ Linux จะสามารถใช้งาน Command-Line บน Windows Server 2003 ได้อย่างดีทีเดียว



10.Intelligent File Services: Encrypting File System, Distributed File System, และ File Replication Service: เพื่อการบริหารไฟล์จำนวนมากมหาศาลในองค์กรที่ง่ายขึ้น

Encrypting File System – EFS จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งรหัสและถอดรหัสการใช้งานไฟล์ข้อมูล เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลเหล่านั้นจากผู้ที่พยายามเข้ามาใช้งานข้อมูลดังกล่าวอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ขโมยเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือขโมย external disk (drive)

การทำ Encryption นี้ ผู้ใช้งานยังคงใช้งานไฟล์ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลที่มีการทำ encryption ไว้ได้เหมือนกับใช้งานไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลอื่นๆ และหากผู้ใช้งาน EFS เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ทำ encrypt ไว้ ระบบจะทำการถอดรหัสไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลนั้นให้โดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้งานเข้าไปใช้งานไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลนั้นภายหลัง Distributed File System – DFS ช่วยในการบริหาร resource ของดิสก์ที่ใช้ร่วมกันบนเนตเวิร์ค ผู้จัดการระบบจะทำการตั้งชื่อ logical name ให้กับไดรฟ์ที่ใช้ร่วมกันบนเนตเวิร์ค แทนที่จะให้ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อแบบ physical name ของ Server แต่ละเครื่องที่ผู้ใช้งานต้องการเข้าไปทำงาน

File Replication Service – FRS เป็นโปรแกรมที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีกว่าคุณลักษณะ Directory Replication บน Windows NT Server 4.0 ในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น FRS จะมีการ replicate จากไฟล์หลักได้ครั้งละหลายไฟล์สำหรับ directory tree ซึ่งอยู่บน Server ที่สร้างขึ้น นอกจากนั้น DFS ยังใช้ FRS เพื่อปรับข้อมูลระหว่างไฟล์ข้อมูลที่ replicate มาด้วยกันเองโดยอัตโนมัติ อีกทั้ง Active Directory ยังใช้ FRS ในการปรับข้อมูลจาก system volume information ไปยังหน่วยควบคุมโดเมนให้ตรงกันด้วย



คุณสมบัติ Windows Server 2003



มีคุณสมบัติทั้งหมดที่มีใน Standard Edition และได้เพิ่มคุณสมบัติที่สำคัญหลายประการ เพื่อช่วย เพิ่มความต่อเนื่องในการให้บริการ, ความสามารถใน การขยายระบบ และความเชื่อถือได้คุณสมบัติที่ สำคัญได้แก่ บริการคลัสเตอร์ เพื่อให้การจัดการฐาน ข้อมูล, การใช้ไฟล์ร่วมกัน, การใช้ข้อมูลร่วมกันผ่าน อินทราเน็ต, การส่งข่าวสาร และแอพพลิเคชั่นทาง ธุรกิจที่สำคัญ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และทนทานต่อความผิดพลาด โดยบริการคลัสเตอร์ของ Windows Server 2003 Enterprise Edition สนับสนุนคลัสเตอร์แบบ 8-node จึงเพิ่มความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดฮาร์ดแวร ์ในสภาพแวดล้อมคลัสเตอร์แบบกระจาย ขณะเดียวกัน ก็เป็นโซลูชั่นสำหรับการกู้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม



การติดตั้ง Windows2003 Server

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 Serverวิธีการติดตั้ง Windows 2003 server ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้

1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย

2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows 2003 Server Setup และทำการติดตั้ง

3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์

ก่อนทำการติดตั้งมาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows 2003เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ ซึ่งวิธีการนี้จะเหมือนกับการลง Windows XP ทุกอย่างเลยนะครับ ฉะนั้นผมจึงจะขอข้ามขั้นตอนนี้ไปเลย เพื่อความรวดเร็ว แต่ถ้าหากท่านยังไม่เข้าก็ขอให้กลับไปดูในหน้า วิธีการลง WindowsXP ได้เลยนะครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



แหล่งที่มา

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 - วิกิพีเดียศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System ... หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง ...th.wikipedia.org/wiki/วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์_2003 - 58k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกันhttp://en.wikipedia.org/wiki/Windows_Server_2003



การติดตั้ง Windows2003 Server พร้อมตัวอย่าง วิธีการติดตั้ง Windows 2003 server ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้ ... ตรงนี้เราจะต้องมาทำการปรับค่าต่างๆที่จำเป็นในการใช้ Windows 2003 Server ของเรา ...fanchun-tc.tripod.com/win2003s1.htm - 24k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน



แบบทดสอบ


1.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)เป็นรุ่นถัดจากรุ่นใด
ก.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000
ข.วินโดวส์ xp
ค.วินโดวส์ 95
ง.วินโดวส์ Mobile


2.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกเมื่อใด
ก.วันที่ 28 เมษายนพ.ศ.2547
ข.วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547
ค.วันที่28 มีนาคม พ.ศ. 2457
ง.วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2457


3.ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 มีส่วนช่วยหลายๆอย่างยกเว้นข้อใด
ก.เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร
ข.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค.แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
ง.เพิ่มงานให้แก่องค์กร


4.ข้อใดไม่ใช่บริการของบริการคลัสเตอร์
ก.การจัดการฐาน ข้อมูล
ข.การใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านอินทราเน็ต
ค.การใช้ไฟล์ร่วมกัน
ง.การทำธุรกิจร่วมกัน


5.การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 Serverแบ่งออกเป็นกี่แบบ
ก. 1แบบ
ข. 2แบบ
ค. 3แบบ
ง. 4แบบ


6.การเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน ในอะไรของเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.CPU
ข.RAM
ค.bios
ง.Rom


7.Windows Server 2003 ได้รวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาบริการเว็บที่ชื่อว่า
อะไร
ก.LMX
ข.XML
ค.MXL
ง.XLM


8.Active Directory หมายถึงอะไร
ก.การบริหารข้อมูลผู้ใช้บนเครือข่ายที่มีความซับซ้อนที่ดีขึ้น
ข.สร้างนโยบายรวมศูนย์เพื่อบริหารการใช้ซอฟท์แวร์ของทั้งเครือข่ายที่ดีและปลอดภัยขึ้น
ค.ประสิทธิภาพการทำงานของ Server
ง.บริหารการลบและกู้คืนไฟล์ที่ดีขึ้น


9.Terminal Services หมายถึงอะไร
ก.การให้บริการที่ไม่ขาดตอน
ข.การรันโปรแกรมโดยอาศัยทรัพยากรของเซอร์ฟเวอร์ผ่านหน้าจอของ Client
ค.การบริหารไฟล์จำนวนมากมหาศาลในองค์กรที่ง่ายขึ้น
ง.การกู้ข้อมูลคืน โดยใช้เครื่องมือ


10.ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิฟเวอร์ใดวินโดวส์
ก.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ ลองฮอร์น
ข.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003
ค.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000
ง.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โลฮอร์น


เฉลย
1. ก 2.ข 3. ง 4.ง 5. ค 6. ค 7. ข 8.ก 9.ข 10. ก

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำสั่งอื่นๆ (Unix)

คำสั่งอื่นๆ

1. At - ตั้งเวลารันกลุ่มคำสั่ง


2. cpio - ต้องการชื่อเต็ม (full pathname) ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทำการอ้างชื่อ ไดเรกทอรีปลายทางแบบ relative

3. bc - คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux

4. basename - เป็นคำสั่งสำหรับสกัดเอาชื่อไฟล์ไฟล์โดยตัดส่วนขยายชื่อไฟล์ (file extension) .gif ออก

5. last - ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด

6. crontab - ตั้งเวลาสั่งงานคอมพิวเตอร์ crontabตั้งเวลารันคำสั่งเป็นรอบเวลาที่กำหนด

7. dd - ลบบรรทัดปัจจุบันทั้งบรรทัด

8. du - แสดงการเนื้อที่ใช้งาน ของแต่ละ directory โดยละเอียด duเป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่

9. dirname - คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname

10. ln - เป็นคำสั่งไว้สร้าง link ไปยังที่ ที่ต้องการ คลายกับ shortcut

11. env - แสดงค่า environment ปัจจุบัน

12. eject - เป็นคำสั่งให้นำคำสั่งที่ตามหลังคำสั่งeject ไปขึ้นหน้าใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละส่วนของโปรแกรมใหญ่ๆ ขึ้นหน้าใหม่ ส่วนคำสั่ง ejectจะไม่ปรากฏใน Assembly Listing

13. exec - ที่ใช้ในการแทนค่าตัวแปรแล้วรันคำสั่งแบบพลวัต (dynamicly) บันทึกพฤติกรรมของ exec ไว้

14. free - แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyteตัวอย่าง free free -b free -k freeเป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์

15. groups -

16. hostname - แสดง/กำหนดชื่อโฮสต์ คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่

17. lp -

18. mount - ของระบบ Unix,Linux*^*(เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPointตัวอย่าง# การ Mount แบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdromหรือ# mkdir /mnt/cdrom# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom#การ Mount CdRomแบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

19. mt - คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux ... คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อ ของระบบ Unix,Linux

20. nice - คำสั่งหรือโปรอกรมเข้าสู่เครื่อง ติดต่อ nice หรือ ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์ + Powered by KnowledgeVolution

21. nohup -

22. netstat - แสดงสถานะของเครือข่ายว่ามีโปรแกรมใดเปิดให้บริการ

23. od - แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่

24. pr - คือส่วนหนึ่งของภาษา HTML. คุณสามารถใช้ BBCode ในข้อความที่คุณพิมพ์. และคุณสามารถยกเลิกการใช้ BBCode ในแต่ละข้อความได้ในแบบฟอร์มกรอกข้อความ. BBCode มีรูปแบบคล้ายๆกับภาษา HTM

25. df - ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]ตัวอย่าง df [Enter]

26. printf - รับค่าตัวแรกเป็นข้อความที่จัดรูปแบบการแสดงผล และรับรายการของข้อมูลที่ต้องการแสดงผลถัดไป.รูปแบบการแสดงผลจะถูกระบุโดยเครื่องหมาย % ตามด้วยอักษรแสดงรูปแบบ. ในกรณีนี้ %d ระบุว่าเราจะพิมพ์ตัวเลขฐานสิบ

27. df - ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]ตัวอย่าง df [Enter]

28. Printenv - คำสั่งนี้จะแสดงค่าตัวแปลสภาพ แวดล้อม. ตัวอย่าง:. -เซ็ตค่าตัวแปรสภาพแวดล้อม. จะใช้คำสั่ง ‘setenv’

29. pg - เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดทีละจอภาพ ถ้าต้องการแสดงหน้า ถัดไป ต้องกด แป้น enter; รูปแบบ. pg filename

30. Quota -

31. rlogin - ใช้เพื่อเปิดการเชื่อมต่อ ด้วย rlogin. rsh. ใช้เพื่อ execute คำสั่งแบบ Remote (การใช้คำสั่งทำงานบน Host อื่นแบบ Remote)

แหล่งที่มา
Linux Command - คำสั่ง linux
linux training in Thailand. Home Articles Webboard Download FreeTips Resources Training Blog Web Link ...www.itdestination.com/resources/linux-command/